บริษัท เอเซีย เมดิแคร์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับ นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข พร้อมนำเสนอโครงการเตรียมขยายประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางสุขภาพโลกในนามรัฐบาลไทย

ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ นางสาว ธณาพร รังกาปาณี ประธานกรรมการบริหารบริษัท เอเซีย เมดิแคร์ กรุ๊ป จำกัด และ ดร. รชต ลาตีฟี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท เอเซีย เมดิแคร์ กรุ๊ป จำกัด เข้าพบเพื่อแสดงความยินดีในโอกาศที่ท่านมารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุขและร่วมพูดคุย โดยทางบริษัทเอเซียเมดิแคร์กรุ๊ป นำเสนอโครงการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ตามนโยบาย Medical Hub
รัฐบาลไทยกำหนด ประเทศไทยเป็น ” ศูนย์กลางสุขภาพโลก ” (Medical Hub) ติดอันดับ 1 ใน 10 การท่องเที่ยวไทย
การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เป็นหนึ่งในเป้าหมายของรัฐบาลปัจจุบันเตรียมผลักดันให้ไทยเป็น ศูนย์กลางสุขภาพโลก

นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน เคยให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยล่าสุดให้ประเทศไทย-ซาอุดิอาระเบีย MOU ฉบับแรกปีนี้ เน้นความมั่นคงและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตรงตามนโยบายรัฐ เนื่องจากการแพทย์และบริการของไทยต่างได้รับคำชื่นชมจากนานาประเทศทั่วโลก
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตามนโยบาย Medical Hub เพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับปัจจุบัน

เจ้ากระทรวง นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน เล่งเห็นขีดความสามารถของประเทศไทยในด้านสุขภาพ และยกระดับมาตรฐานกับการดูแลสุขภาพในเชิงของการท่องเที่ยวต่อยอดสู่การสร้างอาชีพ สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลที่ได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ Medical Hub ภายในระยะ 10 ปี

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้ประเทศ ซึ่งปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 3.42 ล้านครั้ง สร้างรายได้เข้าประเทศ 28,110 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.02 อีกทั้งมีสถานบริการสุขภาพผ่านมาตรฐาน JCI 68 แห่ง ซึ่งมากที่สุดในอาเซียน โดยจะร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านบริการรักษาพยาบาล
นาย สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ได้มีมติเห็นชอบแล้วในหลักการให้เพิ่มเติมประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ให้เข้าประเทศไทยเพื่อรับการรักษาพยาบาลได้โดยไม่ต้องมีวีซ่าระยะเวลา 90 วัน สำหรับผู้ป่วยและผู้ติดตามรวมไม่เกิน 4 ราย รวมเป็น 13 ประเทศจากเดิมที่มี 11 ประเทศ คือ กลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ กลุ่มประเทศ CLMV และสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งเห็นชอบให้เพิ่มเติมอีก 4 ประเทศได้แก่ เกาหลี เบลเยียม สาธารณรัฐออสเตรีย และนิวซีแลนด์ เป็น 18 ประเทศที่สามารถขอวีซ่าแบบพำนักระยะยาว 10 ปี (Long stay visa) จากเดิมที่มี 14 ตลอดจนมีการเพิ่มประเภทขอวีซ่าแบบใหม่เป็นประเภทรักษาพยาบาล (Medical Visa)


สำหรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ให้จัดทำฐานข้อมูลสถานพยาบาลในแต่ละบริการรักษาพยาบาลและบริการ Wellness ที่มีศักยภาพสูงและดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Magnet) ได้แก่ เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ  สปาทางการแพทย์ การแพทย์ทางเลือก โรคหัวใจ กระดูกและกล้ามเนื้อ ทันตกรรม การรักษาผู้มีบุตรยาก โรคมะเร็ง ศัลยกรรม/ศัลยกรรมเสริมสวย/ผ่าตัดแปลงเพศ โรคตาต้อกระจก การแพทย์แม่นยำ รวมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพให้ไปวางจำหน่ายในต่างประเทศ กำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีศักยภาพสูง และประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านช่องทางหลักไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพิจารณาประเด็นการจัดตั้งทูตสาธารณสุข (Medical Attaché) เพื่อทำงานร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ เป็นตัวแทนประเทศไทยในการชี้แจงข้อมูลด้านสุขภาพรองรับนโยบาย Medical Hub ในประเทศเป้าหมาย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ฯ ทุกไตรมาส เพื่อขับเคลื่อนมาตรการสำคัญที่สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไทย
#Asiamedicaregroup #amcgroup
#medicaltourism #เอเซียเมดิแคร์กรุ๊ป