สัมภาษณ์พิเศษ: นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง
และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด
ประเด็นสัมภาษณ์ หน้าอกเป็นคลื่นริ้ว (Rippling) แก้ได้ อย่าตระหนก!
หน้าอกเป็นคลื่นเป็นริ้ว (Rippling) หลังศัลยกรรมเสริมหน้าอก บางคนมองด้วยตาเปล่าก็เห็น บางคนต้องคลำจึงจะพบได้ นี่เป็นปัญหาที่พบได้หลังศัลยกรรมเสริมหน้าอก และหลายคนพยายามหาทางออกในการแก้ปัญหานี้ นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งเเละผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด กล่าวไว้ว่าปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ แต่ศัลยแพทย์เองต้องวิเคราะห์สาเหตุและแก้ปัญหาให้ตรงจุด
หน้าอกเป็นคลื่นริ้ว (Rippling) เกิดจากอะไร
หน้าอกเป็นคลื่นริ้ว เกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่พบมากในคนไข้ที่ผิวบาง หากศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดวางถุงซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ เมื่อซิลิโคนเป็นริ้วจึงเห็นได้ชัด หรืออาจเกิดจากซิลิโคนเสื่อมคุณภาพเกิดการรั่วซึมจึงเห็นริ้วได้ชัดเจน นอกจากนี้ร่างกายแต่ละคนสามารถสร้างพังผืดมารัดตัวซิลิโคนได้ ยิ่งเกิดพังผืดมากซิลิโคนจะเกิดรอยพับมาก และสุดท้ายอยู่ที่วัสดุของถุงซิลิโคน โดยมีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่าซิลิโคนที่เป็นผิวทรายมีโอกาสเป็นคลื่นริ้วได้มากกว่าผิวเรียบ
ซิลิโคนที่รั่วซึมมีผลทำให้ถุงซิลิโคลนเป็นริ้ว
นพ.ธนัญชัย ได้ทำการทดสอบ โดยการนำถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมหน้าอก ดูดเอาเจลออก 10 เปอร์เซ็นต์ ให้เสมือนว่าซิลิโคนเกิดการรั่วซึม พอตั้งซิลิโคลนขึ้น จะเห็นขอบ เป็นริ้วๆชัดเจน สาเหตุนี้ต้องมาเปลี่ยนถุงซิลิโคนใหม่ ดังนั้นหากหน้าอกเป็นคลื่นริ้วอาจสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการรั่วของซิลิโคน
แนวทางการรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยศัลยแพทย์ต้องวิเคราะห์คนไข้แต่ละเคสให้แม่นยำ ใช้เทคนิคผ่าตัดที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพราะสรีระและข้อจำกัดของร่างกายมีความแตกต่างกัน เรื่องซิลิโคนที่ใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากมีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่าถุงซิลิโคนที่เป็นผิวทรายมีโอกาสเกิดเป็นคลื่นได้มากกว่าผิวเรียบ สุดท้ายหากตรวจอย่างละเอียดแล้วพบว่ามีพังผืดรัด ศัลยแพทย์ต้องทำการผ่าตัดเลาะพังผืดออก นอกจากนี้คนไข้สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้วยตนเองโดยการเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานและทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงในการเข้ารับการผ่าตัด เพื่อไม่ให้พบเจอปัญหาในอนาคต
ที่ผ่านมา หลายครั้งที่ศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมดจะมีผู้เข้ามาปรึกษา เพราะเริ่มรู้สึกว่าหน้าอกที่ทำศัลยกรรมมา เริ่มมีทรงที่ไม่เหมือนเดิม คนไข้หลายคนทุกข์ใจ และห่วงภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งเเละผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด กล่าวไว้ว่า อาจเป็นเรื่องที่ใครหลายคนยังไม่ทราบว่า ซิลิโคนเสริมหน้าอกที่มีอายุเกิน 10 ปี ควรจะต้องมีการตรวจเช็ค เนื่องจากอาจเกิดการแตก (Silicone Rupture) หรือรั่วซึม (Gel Bleeding) ได้ ดังนั้นทางการแพทย์ จะแนะนำให้ตรวจเช็คถุงซิลิโคน ด้วย Ultrasound Mammogram หรือ MRI ครั้งแรกหลังเสริมหน้าอกได้ 3 ปี จากนั้น จะแนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 2 ปี เพื่อความมั่นใจ
“มั่นใจยิ่งกว่าที่โรงพยาบาลบางมด” บทความสุขภาพโดย : นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด
ปรึกษาเรื่องศัลยกรรมความงาม โทร. 0-2867-0606 ต่อ 1200-1204