สมาคมการค้าผู้ผลิต ผู้ส่งออก เอเชีย-ตะวันออกกลาง จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำ MOU ผลักดันผู้ประกอบการได้ใบฮาลาลถูกต้อง เพิ่มโอกาสส่งออกสินค้า เน้นอาหาร ผลไม้ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

คุณอักษราภัค ปรัชญากุลวรา
ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทอักษรา
(อักษรา อีคอสเมติค ,อักษรา ไบโอแล็บ , เอเอสอาร์เทรดดิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด)
และในฐานะนายกสมาคมการค้าผู้ผลิต ผู้ส่งออก เอเชียตะวันออกกลาง ย้ำถึงความสำเร็จในการทำ MOU ร่วมมือกับสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันจัดสัมมนา “บุกตะวันออกกลาง 2022″ โดยปกติโรงงานผู้ผลิตสินค้า ต้องมีตราฮาลาล และจบหลักสูตรนี้ พร้อมได้ใบประกาศจากฮาลาล จึงต้องการทำให้ภาคเอกชนได้ใช้สถานที่ของสมาคมฯ เป็นศูนย์การเรียนรู้ ได้เข้ามาทำคอร์สต่างๆ เพิ่มเติม ดังนั้น จะสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการได้ง่ายขึ้น แต่หากต้องเดินทางไปอบรมขอใบฮาลาล ที่จังหวัดสงขลาแห่งเดียวนั้น ผู้ประกอบการจะไม่เดินทางไป ทั้งนี้ สถานที่เรียนหรืออบรม จะใช้สมาคมฯ ที่นวลจันทร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นศูนย์กลางเดินทางสะดวก

สำหรับแผนในอนาคต เพื่อต้องการผลักดันให้ผู้ประกอบการเข้าใจฮาลาลก่อน และเมื่อได้ฮาลาลแล้ว อยากจะผลิตสินค้า ส่งไปกลุ่มตะวันออกกลาง หรือการ matching ร่วมธุรกิจจะง่ายขึ้น นำสินค้าไปขายได้ง่ายกว่า ซึ่งที่ผ่านมา ต่างชาติไม่ค่อยเชื่อฮาลาลของไทย ที่เป็นเอกสารตรวจแค่ครั้งเดียวจบ แต่การทำ MOU ระหว่างสถาบันฮาลาล และสมาคมการค้าผู้ผลิต ผู้ส่งออก เอเชียตะวันออกกลาง จะทำให้มั่นใจว่า มีคนดูแลจริง มีศูนย์อบรม และมีเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีมาตรฐาน ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าไทย ติดปัญหาการส่งออกไม่ได้ เพราะไม่มีฮาลาล ไม่เข้าใจกฎหลักศาสนาอิสลาม ข้อห้ามในศาสนา และทำไปโดยที่ไม่มีความรู้ ทำให้สินค้าไม่สามารถส่งออกได้ ออกใบฮาลาลไม่ได้ ดังนั้นการมีสมาคมฯ มารองรับ ก็ทำให้คนที่สนใจ ทำงานได้มีมาตรฐานถูกต้อง ขณะเดียวกัน การทำ MOU ร่วมกับสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่แรก แต่ในอนาคตจะขยายเพิ่มเติม เพราะการเลือกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เนื่องจากมีสถาบันฮาลาอยู่แล้ว มีกลุ่มสนับสนุนจากชาวมุสลิม และมีทุนจากตะวันออกกลาง ส่วนปัจจัยสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีผลดีทำให้ของแพง ผลิตไม่ได้ ดังนั้น ต้องนำเข้าอย่างเดียว จึงเป็นจุดดีทำให้ไทยขายของได้แพงขึ้น ซื้อสินค้าจากไทย เพราะกลุ่มอาหรับมีกำลังซื้อและมีคุณภาพ

ด้าน ผศ.ดร.อัสมัน แตอาลี ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำ MOU ร่วมกันครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหารผลไม้ เครื่องสำอาง อาหารทางการแพทย์ฮาลาล และผลิตภัณฑ์สุขภาพฮาลาล ที่จะรับรองมาตรฐานฮาลาล เป็นสิ่งที่สถาบันฮาลาลและสมาคมฯ ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ และสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม รวมถึงการทำวิจัยฮาลาลสุขภาพเนื่องจากสถาบันฮาลาลมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร เครื่องสำอาง เสริมอาหารสุขภาพ และการพัฒนากำลังพล เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคลากรหรือคนที่ทำงานด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เสริมอาหารเพื่อสุขภาพฮาลาล สามารถมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตและใส่วัตถุดิบที่ถูกต้องตามหลักฮาลาล ดังนั้น ถือเป็นช่องทางที่ดี ที่ทำให้บุคลากรด้านเครื่องสำอางฮาลาล มีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ หรือบัณฑิตที่เรียนจบ กลับมาเพิ่มศักยภาพและทำงานต่อในอนาคต รวมถึงการร่วมจัดทำสัมมนา ประชุมวิชาการด้านต่างๆ เพื่อให้ทางสมาคมฯ และฮาลาลร่วมกันจัดสัมมนา